สิ่งที่ประชาชนควรรู้
ประชาชนมีสิทธิยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารได้ทุกเรื่อง
สิทธิในการยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารนี้ ถือว่าเป็นไปตามมาตรา 11 ของกฎหมาย ประชาชน
มีสิทธิยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารของราชการได้ทุกเรื่อง โดยกฎหมายไม่ได้กำหนดข้อจำกัดหรือข้อห้ามว่า
ไม่ให้ยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารประเภทใดหรือเรื่องใด และผู้ใช้สิทธิยื่นคำขอตามกฎหมายนี้ก็ไม่จำเป็นต้องมี
ส่วนได้ส่วนเสียเช่นเดียวกับสิทธิเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสาร
การตรวจดูข้อมูล
สิทธิในการเข้าตรวจดู
สิทธิในการเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสารของราชการ ประชาชนสามารถ ทำได้ แม้ว่าจะไม่มี
ส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารนั้นโดยกฎหมายได้บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐจะต้องเตรียมข้อมูล
ข่าวสารของราชการอย่างน้อยตามรายการที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา 9 นำไปรวมไว้ที่ศูนย์ข้อมูล
ข่าวสารของราชการ เพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ เช่น แผนงานโครงการและงบประมาณ สัญญา
สัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะผูกขาดตัดตอน เป็นต้น
สิทธิในการขอสำเนาหรือการรับรองสำเนาถูกต้อง
เมื่อประชาชนได้ใช้สิทธิเข้าตรวจดูแล้ว หากสนใจข้อมูลข่าวสารของราชการในเรื่องใดก็
มีสิทธิที่จะขอสำเนา และขอให้รับรองสำเนาถูกต้องจากหน่วยงานของรัฐในเรื่องนั้นได้
หมายเหตุ การขอสำเนาผู้ขออาจต้องเสียค่าธรรมเนียมในการถ่ายสำเนาให้กับหน่วยงาน
ของรัฐที่เข้าตรวจดูด้วย แต่ทั้งนี้จะเก็บค่าธรรมเนียมเกินกว่าหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร
ของราชการให้ความเห็นชอบไม่ได้ สิทธิของประชาชนที่เกี่ยวกับการขอข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
กฎหมายจำกัดโดยรับรอง หรือคุ้มครองสิทธิไว้เฉพาะเมื่อเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับ
ตนเอง ดังนี้ บุคคลมีสิทธิยื่นคำขอเป็นหนังสือเพื่อขอตรวจดูหรือขอสำเนาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่
เกี่ยวกับตนเอง (มาตรา 25 วรรคหนึ่ง) เป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่งแห่งใดที่มีการรวบรวม
ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของบุคคลหนึ่งบุคคลใดไว้ เช่น ประวัติสุขภาพ ประวัติการทำงาน หรือ
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฐานะการเงิน เป็นต้น บุคคลผู้นั้นก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะขอตรวจดู
หรือขอสำเนาข้อมูลข่าวสารดังกล่าวนี้ของตนเองได้
คำว่า บุคคล ตามที่นี้ก็คือ ประชาชนโดยทั่วไปนั่นเอง แต่เนื่องจากกฎหมายข้อมูล
ข่าวสารของราชการในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลได้ให้สิทธิครอบคลุมไปถึงคนที่ไม่มี
สัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยด้วย
¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤
- มาตรา 7 (1) โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินการ
- มาตรา 7 (2) สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินการ
- มาตรา 7 (3) สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร
- มาตรา 7 (4) กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ เฉพาะที่ให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎเพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชน
- มาตรา 9 (1) ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน)
- มาตรา 9 (2) นโยบายและการตีความ/ผลการหารือ
- มาตรา 9 (3) แผนงานโครงการและงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินงาน
- มาตรา 9 (4) คู่มือหรือคำสั่งที่เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน
- มาตรา 9 (5) สิ่งพิมพ์ที่อ้างอิงถึงราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา 7 วรรคสอง
- มาตรา 9 (6) สัญญาสัมปทาน สัญญาผูกขาดตัดตอน หรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนจัดทำบริการสาธารณะ สัญญาอื่นๆ เช่น สัญญาจัดซื้อจัดจ้าง
- มาตรา 9 (7) มติ ครม. หรือ มติคณะกรรมการ ที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือ โดยมติ ครม.
- มาตรา 9 (8) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด